โปรแกรม Geometer’s Sketchpad (GSP)
โปรแกรม Geometer’s Sketchpad (GSP) ได้ถูกพัฒนามาจากส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเรขาคณิตที่มองเห็นได้ (Visual Geometry Project) ของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ในปี 1987 นิโคลัส แจคคิว (Nicholas Jackiw) ร่วมกับโครงการพัฒนาเรขาคณิตที่มองเห็นได้ ได้พัฒนา GSP นี้จนสามารถนำมาใช้กับเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) ได้สำเร็จ ในปี 1990 นิโคลัส เข้ามาทำงานร่วมกับ สำนักพิมพ์ คีย์ เคอร์ริ-คิวลัม (Key Curriculum) และได้ผลิตซอฟต์แวร์ตัวแรกขึ้น เป็นรุ่นเบต้า (Beta Version) การเปิดตัวของ GSP ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 1991 GSP นี้ เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ครู อาจารย์ และนักเรียนที่สนใจ ในปี 1993 GSP ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการทำงานอีกครั้ง จนสามารถนำมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดส์ (Window) ได้เป็นผลสำเร็จ GSP มีรุ่นสาธิต (Demo Version) ซึ่งสามารถโหลด (Load) ได้ทางอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่สนใจใช้ในการศึกษา โดย GSP รุ่นสาธิตมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานใกล้เคียงกับ GSP รุ่นเต็ม (Full Version) เพียงไม่มีคู่มือประกอบการใช้งาน และไม่สามารถบันทึกเก็บไว้ได้เท่านั้น GSP ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการเรียนในระดับมัธยมศึกษา และในปัจจุบันโปรแกรมนี้ก็ใช้กันอย่างแพร่หลายในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทยนั้น การนำ GSP มาใช้ในการสอนของโรงเรียนยังไม่แพร่หลายนัก
จากประวัติความเป็นมาของโปรแกรม GSP จะพบว่าถูกพัฒนามาจากโครงการพัฒนาเรขาคณิตที่มองเห็นได้ (Visual Geometry Project) ดังนั้นจุดเด่นของโปรแกรมนี้จึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ซึ่งจะเปลี่ยนวิชาคณิตศาสตร์จากรูปธรรมให้กลายเป็นนามธรรม ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น นอกจากนี้โปรแกรม GSP ยังสามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้หลายวิชา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส ซึ่งวิชาดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยการนึกภาพเข้ามาช่วยในการเรียนรู้สูงโปรแกรม GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) และเป็นการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered Learning) โปรแกรม GSP เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ทักษะของกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills) นอกจากนี้ การใช้โปรแกรม GSP ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นการบูรณาการสาระที่เกี่ยวข้องกับความรู้คณิตศาสตร์ และทักษะด้านเทคโนโลยีเข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาพหุปัญญาอันได้แก่ ปัญญาทางภาษา ด้านตรรกศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านศิลปะ ด้วยเหตุผลดังกล่าว โปรแกรม GSP จึงได้รับรางวัลยอดเยี่ยมหลายรางวัล อาทิเช่น Best Educational Software of All Time จาก Stevens Institute of Technology Survey of Mentor Teachers และ Most Valuable Software for Students จาก National Survey of Mathematics Teachers, USA. โปรแกรม GSP มีใช้อย่างแพร่หลายกว่า 50 ประเทศทั่วโลกอีกทั้งบรรจุอยู่ในหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับต่างๆ ถึง 10 ประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ อเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการแปลซอฟต์แวร์โปรแกรม GSP เป็นภาษาต่างๆ ถึง 14 ภาษา ได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน เดนมาร์ก เกาหลี ญี่ปุ่น รัสเซีย นอร์เวย์ ฟินด์แลนด์ อาหรับ เชคโก เปรู เยอรมัน จีน และอังกฤษ
สำหรับในวงการศึกษาไทย โปรแกรม GSP ยังเป็นของใหม่ในวงการศึกษาไทย โดยทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ส่งเสริม และเปิดการอบรมการใช้งานโปรแกรม GSP สำหรับครู เพื่อให้ครูได้นำโปรแกรม GSP ไปใช้ในการเรียนการสอน
แนวคิดที่นำ โปรแกรม Geometer’s Sketchpad (GSP) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้คือ ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียน ม.ต้นใช้สอนพื้นฐานทางเรขาคณิต การแปลงทางเรขาคณิต ปิทากอรัส เส้นขนาน ม.ปลายสอนเรื่องภาคตัดกรวย วงกลม วงรี พาราโบลา กราฟ นอกจากนี้โปรแกรม GSP ยังสามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้หลายวิชา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส ซึ่งวิชาดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยการนึกภาพเข้ามาช่วยในการเรียนรู้สูงโปรแกรม GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) และเป็นการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered Learning) โปรแกรม GSP เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ทักษะของกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills) นอกจากนี้ การใช้โปรแกรม GSP ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นการบูรณาการสาระที่เกี่ยวข้องกับความรู้คณิตศาสตร์ และทักษะด้านเทคโนโลยีเข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาพหุปัญญาอันได้แก่ ปัญญาทางภาษา ด้านตรรกศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านศิลปะ แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้เป็นตัวร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีความสนใจในการเรียน ทำให้การเรียนการเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอน นอกจากนี้ยังทำให้ให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น